โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์

โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์” เป็นโครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ในกำกับของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ตามนัยยะข้อ 22 วรรคสอง แห่งระเบียบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วยการบริหารวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 โดยมีโครงสร้างการบริหารงานที่เป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว สามารบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียนได้ โดยมุ่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยวิธีการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต และหลักสูตรระดับปริญญาโท

Course Title Degree and Diploma
Thai หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ English: Master of Science Program in Medical Sonography
Full name: วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (อัลตราซาวด์ทางการแพทย์)
Abbreviation: วท.ม. (อัลตราซาวด์ทางการแพทย์)
Full name: Master of Science (Medical Sonography)
Abbreviation: M.Sc. (Medical Sonography)

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์

  1. เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายภาพด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ตามมาตรฐานการตรวจระดับสากล
  2. เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์ อันจะส่งผลให้สามารถแบ่งเบาภาระงานของรังสีแพทย์ในปัจจุบันได้
  3. เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์แก่ประชาชนทั่วประเทศ
  4. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคที่เร็วขึ้น และได้รับการรักษาทันต่อการลุกลามของโรค

                  “โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์” มุ่งเน้นผลิตนักอัลตราซาวด์ที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทางด้านอัลตราซาวด์ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ทั้งหมดไปปฏิบัติงานทั้งภาครัฐบาล และเอกชนได้อย่างมีคุณภาพ

Q :จุดเด่น และภาพรวมของการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้

A : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอัลตราซาวด์ทางการแพทย์มุ่งเน้นผลิตนักอัลตราซาวด์ที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทางด้านอัลตราซาวด์ เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้และแสดงเจตคติอันดีงาม ตามแนวทาง “ครูผู้สร้าง”เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศสามารถนำความรู้ทั้งหมดไปปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลดังนั้นการสร้างและพัฒนาหลักสูตรนี้ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้านทางอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ยังช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถถ่ายทอดความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรม

 

Q :โอกาสในการทำงาน และความก้าวหน้าเมื่อเรียนจบแล้ว

A : นักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาอัลตราซาวด์ทางการแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ในสถานบริการสุขภาพ เมื่อจบการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอัลตราซาวด์ทางการแพทย์แล้วนั้น จะสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้
การตรวจทางอัลตราซาวด์เพื่อการวินิจฉัยผู้ป่วย นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ ประกอบอาชีพด้านเครื่องมือทางอัลตราซาวด์ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นสาขาอัลตราซาวด์สาขารังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ